Monday, November 20, 2006

อิ่มหมูกระทะ มาตามหาแกแล๊คซี่

คืนวันที่ 21 ตุลาคม 2549
สถานที่ บ้านเพื่อนผู้น่ารักและใจดีคนหนึ่ง วังน้ำเขียว นครราชสีมา
กล้อง Orion Space Prop 130
กล้องตา 25mm, 10mm, 5mm


22.00น.
คืนนี้เป็นคืนเดือนมืด ดาวเต็มฟ้า
แม้อยู่กลางเขา
แต่รีสอร์ทข้างๆ และที่ยอดเขาไกลออกไป ก็ส่งแสงรบกวนได้ไม่น้อย ทำให้ดาวที่ขอบฟ้าไม่ชัดนัก


แต่ก็ถือว่าคุณภาพฟ้าก็ดีมาก ถ้าเทียบกับหลายทริปที่ผ่านมา
ทางช้างเผือกเห็นอยู่ลางๆ พาดอยู่แนวตะวันออกเฉียงเหนือ สู่ตะวันตกเฉียงใต้
ดาวเต็มฟ้า วาดรูปเป็นกลุ่มดาว และจักรราศี แด้วยดาวสว่างที่ชัดๆ ตามจิตนาการพอได้

เพราะนี่เป็นเดือนตุลาคม ดวงอาทิตย์โคจรอยู่บริเวณราศีตุลย์
ดวงอาทิตย์ตกไปซักพักใหญ่ๆ แล้ว
ฟ้าด้านตะวันตกยังพอทันเห็น ราศีพฤศจิก หรือแมงป่อง แค่ส่วนหาง
กลุ่มดาวคนครึ่งม้ายิงธนู ประจำเดือนธันวาคม กำลังจะตกตามไป




ฟ้าทางด้านเหนือ ชัดที่สุดคือ สามเหลี่ยมฤดูร้อนตัวเดิม
ประกอบด้วยดาวสว่างสามดวง
กลุ่มที่ชัดที่สุดคือ กลุ่มดาวหงส์ หรือ Cygnus




ในสามเหลี่ยมฤดูร้อน มีของให้ดูเยอะ แต่หาไม่ค่อยเจอ
หรือเจอแล้วก็ไม่มีสี เลยไม่ค่อยตื่นตาตื่นใจ

สิ่งที่หามานานอีกอย่างคือ แกแล็คซี่แอนโดรเมดร้า
วิธีหาก็ง่ายๆ คือจากกลุ่มดาวค้างคาว
จะเล็งมาที่ดาวชัดๆ ดวงหนึ่งซึ่งอยู่ในกลุ่มดาวแอนโดรเมดร้า
ถัดไปข้างบนก็เป็นอีกดวงนึง
มองกลับมาทางซ้าย ประมาณ 14 องศา
หรือคือประมาณระยะระหว่างปลายกางนิ้วก้อยกับนิ้วชี้เมื่อเหยียดมือไปสุดแขน




แกแลคซี่แอนโดรเมดร้า ตามภาพในแผนที่ดาวคอมพิวเตอร์ เป็นอะไรที่น่าตื่นตาตื่นใจ
แต่พอส่องกล้อง มองไป ณ ตำแหน่งนั้น กลับเห็นแค่เป็นแค่กลุ่มฝุ่นจางๆ



2.00น.
หลับไปงีบนึง ออกมาดูอีกรอบ
ดาวเต็มฟ้าเหมือนเดิม

เริ่มหึกเหิม พยายามตามหาดาวหางอยู่สองสามดวง
ดาวหาง Faye ที่ความส่องสว่างหรือ โชติมาตร (Magnitude) อยู่ที่ประมาณ สิบกว่าๆ
(ตาเปล่ามองเห็นที่ระดับประมาณหก เลขน้อยคือสว่างมาก)
ดาวหาง Siding Spring (P/2006 HR30) Magnitude 12.79
หาจนเวียนหัวจะอ้วกเป็นหมูกระทะ ก็หาไม่เจอ




โชคยังเข้าข้างอยู่บ้าง
ที่ฝนดาวตก เลโอนิค ผ่านมาให้เห็นแก้เบื่อเกือบทุกห้านาที
บางลูกตกลงมาเป็นบอลไฟ ระเบิดเสียงดังบึ้ม เหลือร่องรอยควันจางๆ หางยาวๆ ให้เห็น

บางทีก็เห็นดาวเทียม วิ่งเร็วปรู๊ด ผ่านหน้ากล้องไปให้ตื่นเต้นบ้าง

ตีสามกว่าแล้ว ยังหาอะไรดูไม่เป็นชิ้นเป็นอัน กำลังจะถอดใจไปนอน
ดูแผนที่ดาวอีกรอบ ไล่หาตาม ระดับความสว่าง เจอที่สว่างเด่นคือ ดาวเสาร์
แต่ดูตำแหน่งแล้ว เพิ่งโผล่จากขอบฟ้า คงต้องรอประมาณตีห้า
แต่เดี๋ยวก่อน ดาวอะไรนั่นหลุดจากแนวภูเขามาไม่มาก ตำแหน่งเหมือนดาวเสาร์เลย
เอากล้องส่องดู
มันคือดาวเสาร์นั่นเอง
แถมมาอีกอันคือ ไทตัน ดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ



นอนตาหลับ ด้วยดาวเสาร์และไทตั้น จริงๆ คราวนี้

(ภาพประกอบจากโปรแกรมดูดาว Starry Night 2006 บวกการปรับแต่ง)