Thursday, June 07, 2007

คืนวันที่ 7 มิถุนายน 2550
สถานที่ บ้าน แถวฝั่งธน
กล้อง Orion Space Prop 130
กล้องตา 25mm

20.00 น. ขับรถกลับบ้าน
ฟ้าทางตะวันออกมีดาวดวงนึง ใหญ่ และสว่างมาก

ตอนแรกนึกว่า เครื่องบินบินต่ำๆ แต่มันนิ่งเกินกว่าจะเป็นเครื่องบิน
และกระพริบน้อยกว่าจะเป็นดาวฤกษ์
สันนิษฐานว่า คงเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง

ซึ่งไม่บ่อยครั้งนักที่จะเห็นดาวสว่างแบบนี้ในฟ้ากรุงเทพฯ

ที่เคยเห็นมาแล้วคือ ดาวเสาร์
แต่คราวนี้สว่างกว่ามาก

20.45 น. กลับถึงบ้าน

เพิ่งสังเกตว่า วันนี้ฟ้ากรุงเทพเปิดมากกว่าวันไหนๆ ในรอบหลายเดือนที่ผ่านมา
คว้ากล้องตามาส่องดู ดาวสว่างนั่น มันอยู่ข้างๆ ดาวแดงอันทาเรส (จุดกึ่งกลางตัวของราศีแมลงป่อง)

ถ้าดาวสว่างนั่น เป็นดาวเสาร์ ก็ไปนอนดีกว่า
แต่เท่าที่สังเกต ไม่เห็นวงแหวนเหมือนดาวเสาร์ที่เคยเห็น
และไม่เห็นอะไรนอกจากจุดสว่างสีขาวดวงใหญ่

21.15 น. ตัดสินใจตั้งกล้อง
ตั้งกล้องแบบเร็วๆ ไม่ตั้งพิกัด และน้ำหนักถ่วง
และแล้ว
มันก็ปรากฏตัวออกมาจนได้

มันคือดาวพฤหัส พร้อมบริวารสามดวง
ปกติแล้วน่าจะมีอีกดวงนึง ให้ครบสี่ดวง ตามบริวารทั้งสี่ ที่กาลิเลโอค้นพบเมื่อสี่ร้อยปีก่อน
หรือที่เรียกว่า กาลิเลี่ยน (Galilean Moons) คือ
ไอโอ ยูโรป้า แกนิมีด และ คาลิสโต

วันนี้เห็นแค่บริวารสามดวง
อีกดวงคงเคลื่อนอยู่ด้านหน้า หรือด้านหลังดาวแก๊สยักษ์นั่น

22.00 น.
กลับมาเปิดโปรแกรม Starry Night ก็เป็นไปตามคาด
พบว่า ไอโอ ดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของดาวพฤหัส โคจรมาอยู่บนตำแหน่งซ้อนทับกันกับดาวแม่
ทำให้เกิดจันทรคราส เป็นจุดเงาดำเล็กๆ บนเมฆแก๊สนั่นเอง