Saturday, July 14, 2012
A Morning Line of Stars and Planets
Thursday, February 18, 2010
แอนโดรมิด้า ในกล้องอินฟาเรด
แสงอินฟาเรด ของแกแลคซี่แอนโดรมิด้า (Andromeda Galaxy (M31))
ภาพแสดงฝุ่นร้อนๆ สีเหลืองและแดง กำลังก่อตัวเป็นดาวใหม่เป็นเงาเบลอๆ
แกแลคซี่ที่เห็นนี้ใหญ่กว่าแกแลคซี่ทางช้างเผือกของเราประมาณสองเท่า
ยังมีกาแลคซี่บริวารอีกสองอันคือ M110 ด้านบน และ M32 ด้านล่าง
กล้องที่ถ่ายคือ WISE หรือ ดาวเทียม Wide-field Infrared Survey Explorer
ส่งขึ้นไปโคจรเมื่อธันวาคมปีที่แล้ว (2009) และจะทำหน้าที่สำรวจคลื่นอินฟาเรดประมาณหกเดือน
และนาซ่าคาดว่า กล้องตัวนี้จะตรวจพบ ดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกไปในตัวด้วย
---------------
จาก Astronomy Picture of the Day (APOD)
Friday, November 13, 2009
ฝนดาวตก ลีโอนิด 2009
ฝนดาวตก ลีโอนิด(Leonids) เกิดจากโลกโคจรเข้าไปในหางฝุ่นของดาวหาง Temple-Tuttle (มาทุก 33 ปี)
ฝุ่นดาวหาง เกิดจากที่กลุ่มก๊าซแข็งระเหิดออกจากตัวดาวหางเนื่องจากได้รับความร้อนเมื่อโคจรเข้ามาใกล้จากดวงอาทิตย์ ซึ่งฝุ่นนี้ประกอบด้วยฝุ่นขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ซึ่งจะเห็นเป็นฝนดาวตกนั่นเอง
ที่เรียกว่า ลีโอนิดเพราะจะปรากฏอยู่ในตำแหน่งของ กลุ่มดาวสิงโต หรือจักรราศี สิงห์
จริงๆ แล้วโลกเราโคจรผ่านทางฝุ่นนี้ในช่วงตั้งแต่วันที่ 14 – 22 พ.ย. แล้ว แต่มีการคำนวณว่า คืนที่ 17-18 พ.ย.52 จะเป็นช่วงที่เห็นได้ถี่ที่สุด
เวบแนะนำ ตรวจสอบ Location ของท่าน กับอัตราคำนวณการตกของดาว http://leonid.arc.nasa.gov/estimator.html
ดูแล้วจากประเทศไทย จะไป Peak อยู่ที่ประมาณ ตี 5 ของเช้าวันที่ 18
โดยอัตราการเห็น จะขึ้นกับ Location ด้วย เช่น
ในเมือง มีโอกาสเห็นไม่ถึง 0.5 ดวง/ชั่วโมง
นอกเมือง (ห่างจากเมืองใหญ่ มากกว่า 50 กิโลเมตร) มีโอกาสเห็นได้ถึง 5.5 ดวง/ชั่วโมง
ยอดเขา อาจได้สูงกว่านั้น
การเตรียมตัว จากประสบการณ์ที่เคยได้ดูฝนดาวตกมาแล้วบ้าง ผมอยากจะแนะนำให้เตรียมตัวดังนี้ครับ
เตรียมสถานที่ - หาสถานที่เหมาะๆ อย่างที่ว่า ในเมืองมี Light Pollution ค่อนข้างมาก โอกาสเห็นริบหรี่ อยากให้หาสถานที่เหมาะๆ นอกเมือง
คราวนี้ต้องมองไปทางท้องฟ้าด้านตะวันออก ทางที่ดี ไปทางตะวันออกของกทม.น่าจะดีกว่า เช่น เขาใหญ่ นครนายก ฉะเชิงเทรา ฯลฯ
เตรียมอุปกรณ์กันเมื่อยคอ - ดูด้วยตาเปล่าเห็นครับ แต่จะเมื่อยคอมาก แนะนำให้นอนดู เพราะจะเห็นท้องฟ้าทั้งฟ้าเลย ไม่เมื่อยด้วย
เตรียมอุปกรณ์กันยุง - จำเป็นเกือบที่สุดครับ เพราะส่วนใหญ่เราจะไปดูกันตามที่เปิดโล่ง ต่อให้มีลมยังไง ก็มียุงครับ เสื้อผ้าก็เลือกให้หนานิดนึง ไม่ให้ยุงเจาะได้ง่ายๆ
เตรียมอุปกรณ์กันหนาว – บางที่ ดึกๆ น้ำค้างลงหนักมาก ให้ระวังจะไม่สบายได้ง่ายๆ
เตรียมนอนให้อิ่ม - ฝนดาวตกปีนี้กว่าจะเริ่มเห็นก็หลังเที่ยงคืนครับ ฉะนั้น นอนตุนแรงไว้ก่อนดีที่สุด ค่อยออกมาตากน้ำค้างซักตีสอง ตีสาม ก็น่าจะทัน
เตรียมคนรู้ใจ - ตามที่คำนวนบอกว่า ประมาณ 5-6 ดวงที่จะเห็นต่อชั่วโมง ระหว่างยังไม่เห็นอะไร ได้คนรู้ใจนั่งข้างๆ คุยเป็นเพื่อนก็ดีไม่น้อยครับ
เตรียมใจ - หลายคนพูดถึง ฝนดาวตก แล้วเข็ด บอกว่าโดนหลอกเมื่อปีนั้น แล้วไม่เห็นสักกะดวง เรื่องมันบนฟ้านะครับ คงกะเกณฑ์ไม่ได้หรอก บางปีบอกเป็นร้อยๆ ดวง กลับไม่เห็นอะไรเลย ส่วนปีที่บอก 5-6 ดวง ผมกลับเห็นเป็น 20-30 ดวง เรื่องแบบนี้ ต่อให้คำนวนให้ตายก็เดาไม่ถูกทั้งหมดหรอกครับ เมฆมากก็อด
ฝนตกก็อด ข้างบ้านเปิดไฟก็อด ง่วงนอนก็อด ฯลฯ
คิดเสียว่าได้มีโอกาสไปตากอากาศกับคนรู้ใจ น่าจะดีที่สุด
--------------------
ข้อมูลบางส่วนจาก
http://en.wikipedia.org/wiki/Leonids
Saturday, December 27, 2008
อยากให้เป็นดาวเสาร์
เผื่อเธอจะเอาวงแหวนของดวงดาวมาให้ฉัน
เพื่อพันผูก หัวใจเราสองดวงให้อยู่คู่กันตลอดไป...
คนแต่งเพลงนี้คงไม่เคยเรียนดาราศาสตร์
ดาวตกที่เกิดขึ้น ไม่สามารถเป็นดาวเคราะห์ได้แต่อย่างใด
ดาวตกที่เห็น เกิดจากวัตถุในอวกาศที่โคจรมาใกล้โลกจนถูกแรงดึงดูดเข้ามาในชั้นบรรยากาศ และด้วยบรรยากาศที่หนาแน่น ทำให้วัตถุนั้นเผาไหม้ขึ้น จนเป็นแสงที่เรียกว่า ดาวตก
หากดาวเสาร์เป็นวัตถุนั้น แรงดึงดูดของดาวเสาร์ต่างหาก จะดึงโลกเข้าไป และโลกจะเป็นวัตถุที่ตกลงบนดาวเสาร์ เพราะขนาดของดาวเสาร์นั้นใหญ่กว่าโลกมากกว่า 700 เท่า
หากมีสิ่งมีชีวิตที่ทนอุณหภูมิสูง หายใจด้วยแก๊สไฮโดรเจน ผสมแอมโมเนีย ลอยไปลอยมาอยู่ในดาวเสาร์ หรือเรียกว่า มนุษย์ดาวเสาร์
ยิ่งกว่านั้น
หากพวกมนุษย์ดาวเสาร์ไม่ได้เรียนดาราศาสตร์ และเกิดอารมณ์โรแมนติก
เขาคงแต่งเพลง
* อุ๊ย................ดาวตกแล้ว
อยากให้เป็นดาวโลก
เผื่อเธอจะนำแผ่นดิน แำผ่นน้ำ และชั้นบรรยากาศของดวงดาวมาให้ฉัน
เพื่อพันผูก หัวใจเราสองดวงให้อยู่คู่กันตลอดไป...
Tuesday, December 09, 2008
จันทร์เอ๋ย จันทร์ยิ้ม
ยิ้มสุขพริ้ม ยิ้มฉงน หรือยิ้มหยัน
จันทร์เห็นเรา เราเห็นจันทร์ ต่างคิดกัน
ปากแย้มนั้น เหมือนว่ายิ้ม หมายต่างเอย
ปรากฏการณ์ จันทร์ยิ้ม
ต้องเรียกว่า ปรากฏการณ์จริงๆ นะครับ
ที่ทุกอย่างเกิดขึ้นแบบพร้อมๆ กันได้ขนาดนี้
กล่าวคือ
ดาวศุกร์ (ตาด้านซ้าย) ลุกโชนสว่าง เพราะอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มาก
ดาวพฤหัส (ตาด้านขวา) สว่างนิ่งๆ นวลๆ แม้จะห่างจากตาซ้ายหลายล้านกิโลเมตร
ดวงจันทร์ (ปากยิ้ม) อยู่ในตำแหน่งรับแสงเสี้ยว เหมือนปากยิ้ม
โลก อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ทำให้เราสามารถเห็นดาวเคราะห์ทั้งสามดวงได้ ในตำแหน่งที่มีความหมาย
ตั้งแต่เริ่มวัฒนธรรมมนุษย์มา เราเริ่มตีความสิ่งที่เห็นบนท้องฟ้าไปต่างๆ นานา
สมัยสามก๊ก ขงเบ้ง สุมาอี้ สามารถคาดเดาการตาย การเปลี่ยนเจ้าเมือง จากดาวหรี่ดับ
สมัยยุคกลาง การระเบิดของซูเปอร์โนวา ก็กลายเป็นเหตุการร้ายได้มากมาย
สมัยอยุธยา พงศาวดารกล่าวอ้างว่าดาวหางคือสัญญาณแผ่นดินเปลี่ยน
ตำแหน่งของดาวสี่ดวงจะมาเรียงตัวคล้ายๆ กันอีกครั้งในเช้ามืดวันที่ 23 เมษายน 2552
การตีความกับความหมายของการยิ้ม คงต่างกันไปตามบริบทสังคมตอนนั้น
ทางการแพทย์พิสูจน์แล้วว่า การที่เราอยู่ใกล้คนยิ้มเก่ง ยิ้มบ่อย เราจะยิ้มและมีความสุขไปด้วย เหมือนเป็นโรคติดต่อ
การคาบปากกา ให้ปากอยู่ในตำแหน่งเหมือนยิ้ม เมื่อดูหนังตลกจะตลกขึ้น
และหนังตลกถ้ามีเสียงหัวเราะนำให้ถูกจังหวะ ความตลกก็จะเพิ่มขึ้น
การแกล้งยิ้มหัวเราะทุกเช้า วันนั้นจะเริ่มด้วยความสุข
เมื่อเกิดปัญหารุมเร้า หาทางออกไม่ได้ ทางเดียวที่ทำได้คือ “ยิ้มสู้”
ในคืนจันทร์ยิ้มนั้น มุมเล็กๆ แถวถนนพัฒนาการ
คุณน้าผม กำลังอยู่ในช่วงเวลาการบำบัดคีโม หลังตรวจพบมะเร็ง
ท่านเดินกับแม่ผม ใต้แสงจันทร์ยิ้มนวล
ท่านบอกว่า ไม่เคยเห็นจันทร์ยิ้มแบบนี้เลย ตลอดห้าสิบกว่าปีที่ผ่านชีวิตมา
ท่านบอก คงต้องยิ้มสู้กันต่อไป
เมื่อการยิ้มเป็นสิ่งดี ถ้าจันทร์ยิ้มอยูบนฟ้าทุกคืนก็คงดีไม่น้อย
แต่จันทร์มองเราแล้ว คงยิ้มไม่ออก หรือคงยิ้มในความเหนื่อยหน่ายกับการกระทำของมนุษยชาติ
แต่ในเมื่อจันทร์มองเราแล้วไม่ยิ้ม
ทำไมเราไม่มองจันทร์แล้วยิ้มดูหล่ะครับ
ลองยิ้มให้กับท้องฟ้าที่ยังสดใสปลอดโปร่งเพียงพอให้เรามองจันทร์ได้
ลองยิ้มให้กับเวลา และกล้ามเนื้อ ที่เรายังมีเพียงพอ ให้มีเวลา และกำลังเพียงพอในการเงยหน้ามองจันทร์ ทั้งที่หลายคนบนโลกกลับไม่มีเวลา หรือไม่มีกำลังเพียงพอเหมือนเรา
ลองยิ้มให้กับโอกาสของชีวิตนี้ ที่ได้เกิดมามองจันทร์ ที่ยังมีอะไรดีๆ ให้ทำอีกตั้งเยอะ
ว่าไหมหล่ะครับ?
Saturday, August 16, 2008
Thursday, June 07, 2007
สถานที่ บ้าน แถวฝั่งธน
กล้อง Orion Space Prop 130
กล้องตา 25mm
20.00 น. ขับรถกลับบ้าน
ฟ้าทางตะวันออกมีดาวดวงนึง ใหญ่ และสว่างมาก
ตอนแรกนึกว่า เครื่องบินบินต่ำๆ แต่มันนิ่งเกินกว่าจะเป็นเครื่องบิน
และกระพริบน้อยกว่าจะเป็นดาวฤกษ์
สันนิษฐานว่า คงเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง
ซึ่งไม่บ่อยครั้งนักที่จะเห็นดาวสว่างแบบนี้ในฟ้ากรุงเทพฯ
ที่เคยเห็นมาแล้วคือ ดาวเสาร์
แต่คราวนี้สว่างกว่ามาก
20.45 น. กลับถึงบ้าน
เพิ่งสังเกตว่า วันนี้ฟ้ากรุงเทพเปิดมากกว่าวันไหนๆ ในรอบหลายเดือนที่ผ่านมา
คว้ากล้องตามาส่องดู ดาวสว่างนั่น มันอยู่ข้างๆ ดาวแดงอันทาเรส (จุดกึ่งกลางตัวของราศีแมลงป่อง)
ถ้าดาวสว่างนั่น เป็นดาวเสาร์ ก็ไปนอนดีกว่า
แต่เท่าที่สังเกต ไม่เห็นวงแหวนเหมือนดาวเสาร์ที่เคยเห็น
และไม่เห็นอะไรนอกจากจุดสว่างสีขาวดวงใหญ่
21.15 น. ตัดสินใจตั้งกล้อง
ตั้งกล้องแบบเร็วๆ ไม่ตั้งพิกัด และน้ำหนักถ่วง
และแล้ว
มันก็ปรากฏตัวออกมาจนได้
มันคือดาวพฤหัส พร้อมบริวารสามดวง
ปกติแล้วน่าจะมีอีกดวงนึง ให้ครบสี่ดวง ตามบริวารทั้งสี่ ที่กาลิเลโอค้นพบเมื่อสี่ร้อยปีก่อน
หรือที่เรียกว่า กาลิเลี่ยน (Galilean Moons) คือ
ไอโอ ยูโรป้า แกนิมีด และ คาลิสโต
วันนี้เห็นแค่บริวารสามดวง
อีกดวงคงเคลื่อนอยู่ด้านหน้า หรือด้านหลังดาวแก๊สยักษ์นั่น
22.00 น.
กลับมาเปิดโปรแกรม Starry Night ก็เป็นไปตามคาด
พบว่า ไอโอ ดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของดาวพฤหัส โคจรมาอยู่บนตำแหน่งซ้อนทับกันกับดาวแม่
ทำให้เกิดจันทรคราส เป็นจุดเงาดำเล็กๆ บนเมฆแก๊สนั่นเอง